การดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย หรือ Palliative Care เป็นการดูแลผู้ป่วยด้านใดบ้าง

Palliative Care หรือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง จะเป็นการดูแลผู้ป่วยด้วยการมุ่งเน้นไปที่การพยายามเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ทั้งของผู้ป่วย และครอบครัวที่ต้องดูแลผู้ป่วย โดยการทำเช่นนี้จะเป็นการช่วยลดความทุกข์ให้กับผู้ป่วย และครอบครัวได้ ในการดูแลจะต้องทำการดูแลตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงวาระสุดท้ายของผู้ป่วย ซึ่งจะทำไปพร้อม ๆ กับการรักษาหลัก ทั้งนี้วิธีารดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย ก็จำเป็นมาก ๆ ที่จะต้องดูแลจากหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด แล้วจะต้องดูแลในด้านใดบ้าง ในบทความนี้จะมาอธิบายกัน 

การดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย จะต้องดูแลในด้านใดบ้าง 

การดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย หรือ Palliative Care จะเป็นการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยจะต้องดูแลให้ครอบคลุมในด้านต่าง ๆ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ 

1. การดูแลด้านร่างกาย เป็นการดูแลอาการที่เกิดขึ้นทางกายของผู้ป่วย เช่น อาการปวด, เบื่ออาหาร, อ่อนเพลีย, หายใจลำบาก, ท้องผูก, อาเจียน และอาการอื่น ๆ อีกมากมาย 

2. การดูแลด้านสภาวะอารมณ์ เป็นการดูแลที่จะต้องให้ความสนใจไปเรื่องของอารมณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย และครอบครัวของผู้ป่วย เช่น การดูแลเรื่องความเครียด, อาการซึมเศร้า, ความวิตกกังวล และรวมถึงเรื่องของความเสียใจที่เกิดขึ้นกับครอบครัวเมื่อสูญเสียคนในครอบครัวไปแล้ว  

3. การดูแลด้านจิตวิญญาณ เป็นการดูแลผู้ป่วยผ่านความเชื่อ และเป็นไปตามแนวทางของการใช้ชีวิต อีกทั้งยังรวมไปถึงเรื่องของความเชื่อทางด้านศาสนาด้วย เช่น การสวดมนต์, การทำบุญ หรือการฟังเทศนาจากนักบวช ซึ่งการทำเช่นนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยมีจิตใจที่สงบมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยที่สิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ 

4. การดูแลด้านสังคม เป็นการดูแลที่จะต้องเกี่ยวเนื่องกับสังคม เช่น การดูแลและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์ที่มีระหว่างผู้ป่วยและบุคคลที่อยู่รอบตัวของผู้ป่วย ซึ่งการดูแลเรื่องนี้ก็เพื่อเป็นการช่วยลดความเครียดให้กับการดูแลผู้ป่วย และช่วยในเรื่องของการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกมาไว้ดูแลผู้ป่วยด้วย 

5. การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นกับผู้ป่วย ในเรื่องนี้ทางครอบครัว และผู้ป่วยจำเป็นมาก ๆ ที่จะต้องเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้น รวมถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเป็นการช่วยในขั้นตอนของการเลือกวิธีการรักษาต่อไป 

6. การวางแผนการดูแลผู้ป่วยล่วงหน้า และการทำหนังสือแสดงเจตนา เป็นการช่วยให้ครอบครัว และคนที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยมีความเข้าใจถึงวิธีการรักษา และดูแลผู้ป่วยในระยะเวลาสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วย 

7. การดูแลด้านอื่น ๆ ในส่วนนี้ก็ เช่น เรื่องของการดูแลเรื่องการเงินที่จะต้องใช้ในการรักษาผู้ป่วย, การจัดสถานที่สำหรับการรักษา หรือจะเป็นเรื่องของการปรึกษาผู้มีความรู้ในการจัดเตรียมเอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย เช่น เอกสารประกันชีวิต 

จากที่กล่าวมานี้เอง ก็เป็นเรื่องต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้ในการดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย โดยจะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิตนี้มีเรื่องที่สำคัญหลายอย่าง และเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ๆ ทั้งนี้ในการดูแลผู้ป่วยก็จะต้องเป็นการดูแลจิตใจของผู้ป่วยเอง และต้องรวมถึงการดูแลจิตใจของคนรอบข้างผู้ป่วยด้วย เพื่อให้สามารถช่วยลดความกังวลต่อตัวผู้ป่วย และครอบครัว ให้สามารถก้าวข้ามช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วยไปได้ และช่วยทำให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ